วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อประกอบการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




ความหมายของสื่อ

สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยใน การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม หรือทักษะที่ ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเด็กเกิดการเรียนรู้ตาม จุดมุ่งหมายได้ดีที่สุด

ความสำคัญของสื่อ
1.  เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2.   เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่า นิยม หรือทักษะของผู้สอนไปสู่ผู้เรียน
3.   เป็นเครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วย ความสนใจ และไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็นการ “เรียน
4.   เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จำได้นาน

ประเภทของสื่อ สื่อการสอนแบ่งได้ 3 ประเภทคือ
1.        สื่อการสอนประเภทวัสดุ
หมายถึง สื่อการสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์สไลด์ แผ่นป้าย เป็นต้น
อย่างไรก็ดีสื่อการสอนดังกล่าวแม้จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย แต่การจะใช้สื่อการสอนสำหรับเด็ก ปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระ การสอนที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจของเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด
2.        สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทวิธีการ                                     
หมายถึง สื่อการสอนที่เป็นเครื่องมือ เป็นครุภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องบันทึกเทปเสียง เครื่องฉายข้ามศรีษะ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กระดานหก กระดานดำ กระบะทราย เป็นต้น
อย่างไรก็ดีสื่อการสอนดังกล่าวแม้จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้ มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย แต่การจะใช้สื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระ การสอนที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจของเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด
            สื่อการสอนประเภทวิธีการ 
ได้แก่ การจัดแบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ การจัดสถานการณ์จำลอง การเล่นบทบาทสมมติ การจัดศูนย์การเรียน รวมถึงกิจกรรมที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจัดขึ้นโดยมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้สื่อประเภทวัสดุและอุปกรณ์มาประกอบ ในวิธี การหรือกระบวนการที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจัดก็ได้
อย่างไรก็ดีสื่อการสอนดังกล่าวแม้จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย แต่การจะใช้สื่อการสอนสำหรับเด็ก ปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระ การสอนที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจของเด็กปฐมวัย อีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

การเลือกสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
              1.การเลือกสื่อควรพิจารณาให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องการให้เด็กๆได้เรียนรู้ เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ และสอดคล้องกับเนื้อหาอย่างครบถ้วน
                2. การนำสื่อไปใช้ในกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้เด็ก ต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นก่อนนำสื่อไปใช้ให้เกิดประสิทธิผล ควรมีการทดลองใช้และติดตามผลการใช้สื่อนั้นๆ ก่อน
                3. สื่อควรสร้างเสริมความคิดและให้แนวทางในการแก้ปัญหาได้หลายๆ ด้าน
                4. กรณีผลิตสื่อขึ้นใช้เอง ควรพิจารณาเทคนิคการผลิตสื่อนั้นๆ ว่า ดี หรือมีความเหมาะสมในการใช้งานมากน้อยแค่ไหน เช่น สี ขนาด สัดส่วน ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
                5. สื่อต้องเหมาะสมกับวัย เพศ ระดับความรู้ ประสบการณ์เดิมของผู้รับ
                6. การสร้างสื่อรวมทั้งการใช้สื่อ ควรยึดหลักการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ อันได้แก่ ความต้องการทางกาย ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการการยอมรับของกลุ่ม ความต้องการการยกย่องนับถือ ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
                7. ควรเลือกใช้สื่อชนิดที่เข้าถึงและเป็นที่นิยมของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงภาษาที่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ และใช้สื่ออย่างคุ้มค่า
                8. สื่อนั้นๆ ผู้รับควรรับรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าให้มากที่สุด
                9. สื่อที่ใช้ควรเป็นสถานการณ์ในปัจจุบัน ทันต่อเหตุการณ์และความก้าวหน้า รวดเร็วตรงตามเป้าหมาย
                10. ควรนำศิลปวัฒนธรรม ประเพณี กิจกรรม บุคลากร องค์กร หรือทรัพยากรต่างๆ ในท้องถิ่น มาใช้เป็นสื่อให้มากที่สุด

สื่อการสอน
1.เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากได้ง่ายในระยะเวลาอันสั้น
2.
 สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจแก่ผู้เรียน
3.
 สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันและเกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
4.ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
5.
 ช่วยสร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อ
6.ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล

สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน  ดังนี้
       สื่อกับผู้เรียน
                สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
                -  เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
                -  สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
                -  การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ  และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
                -  สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน  ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
                  -  สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้
                   -  ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล
        สื่อกับผู้สอน
                สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
             -  การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน  เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว   และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
                -  ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้  และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
                -  เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน  ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
                อย่างไรก็ตาม  สื่อการสอนจะมีคุณค่าต่อเมื่อผู้สอนได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธีดังนั้น  ก่อนที่จะนำสื่อแต่ละอย่างไปใช้  ผู้สอนควรจะศึกษาถึงลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอนข้อดีและข้อจำกัดอันเกี่ยวเนื่องกับตัวสื่อและการใช้สื่อแต่ละอย่าง  ตลอดจนการผลิตและการใช้สื่อให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการการเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้

หลักในการจัดหาสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ  เพื่อประกอบการพิจารณา  คือ
                -  สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
                -  เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง  ทันสมัย  น่าสนใจ  และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
                -  เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย  ระดับชั้น  ความรู้  และประสบการณ์ของผู้เรียน
                -  สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้  มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
วัสดุเหลือใช้ วัสดุเหลือใช้ส่วนมาก เรานำมาใช้เป็นสื่อได้ทั้งสิ้น เช่น หลอดด้าย หลอดกาแฟ ถ้วยไอศครีม กระบอกข้าวหลาม ไม่ก้านธูป ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ เศษผ้า ด้ามไม้กวาด กระดาษห่อท็อฟฟี่ กระป๋องแป้ง เปลือกไข่ ฯลฯ การพิจารณาเลือกวัสดุเหลือใช้มาเป็นสื่อนั้น ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่น 
-  ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ  มีเทคนิคการผลิตที่ดี  มีความชัดเจนและเป็นจริง
                -  มีราคาไม่แพงจนเกินไป  หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
 การใช้สื่อในการดำเนินกิจกรรม
การจะเลือกใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ในเบื้องต้นผู้เลี้ยงดูเด็กจะ ต้องตระหนักและเข้าใจว่าเด็กปฐมวัยเป็นที่เพิ่งเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ที่เป็น พื้นฐานของการปรับตัวเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นการจะสอนให้เด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ต้องเข้าใจพื้นฐานพัฒนาการของเด็กว่า เด็กยังแยกแยะสิ่งที่พบเห็นไม่ออก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้สื่อเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งต่าง ๆ หรือการสอนความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน การให้เด็กดูสัญลักษณ์ตัวเลข ควรเป็นเพียงการสร้างความคุ้นเคยเบื้องต้น แต่การสอนให้รู้จักจำนวน ควรใช้สื่อที่เด็กสนใจ เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะเล่านิทานแล้วสอดแทรกเรื่องจำนวนในนิทาน อาจจะเป็นการนับจำนวนสัตว์ สิ่งของเป็นต้น การเลือกสื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนประเภทวัสดุกับเด็กปฐมวัย สื่อประเภทวัสดุมีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นสื่อซึ่งก่อให้เกิดความรู้เบื้องต้นแก่เด็กวิชาต่าง ๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สุขศึกษา ธรรมชาติศึกษา สังคมศึกษา ศิลปะ เพลง ดนตรี จังหวะเคลื่อนไหว และเกมการเล่น วัสดุที่ใช้เป็นสื่อการสอน ได้แก่ วัสดุท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุทำขึ้นเอง และวัสดุซื้อมาด้วย ราคาสูง วัสดุท้องถิ่น วัสดุท้องถิ่น หมายถึง สิ่งของที่มีอยู่ในท้องถิ่นตามภูมิประเทศ ซึ่งจะแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละภูมิประเทศ วัสดุท้องถิ่นที่เราพบเห็นในท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่ เปลือกหอย ก้อนหิน ปะการัง ทราย ก้อนแร่ ใบไม้ เม็ดมะกล่ำตาหนู ฟาง รังนก ต้นอ้อ เปลือกมะพร้าว ผลตาลแห้ง ก้านกล้วย ใบตอง ทางมะพร้าว เป็นต้น
การเลือกใช้ การนำวัสดุท้องถิ่นมาใช้เป็นสื่อนั้น ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องวางแผนในการนำวัสดุมาใช้ และคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ 
1.
 มีความมุ่งหมายให้เด็กเรียนรู้วิชาใด 
2.
 สิ่งที่เด็กสนใจ 
3.
 วัสดุนั้นตรงกับเหตุการณ์และเวลาที่เด็กควรรู้หรือไม่ 
4.
 วัสดุนั้นสามารถนำมาใช้เป็นสื่อให้เด็กเรียนรู้ตรงตามความมุ่งหมายหรือไม่
วัสดุเหลือใช้ 
วัสดุเหลือใช้ หมายถึง สิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์แล้วและมีส่วนที่เหลือทิ้งไว้ ส่วนมากเมื่อได้ใช้ประโยชน์ของสิ่งนั้นแล้วก็มักทิ้งไปเลย เช่น กลักไม้ขีดไฟ กล่องสบู่ ทั้งกลักและกล่องนี้ เราเรียกว่า 
วัสดุทำขึ้นเอง
วัสดุทำขึ้นเอง คือ วัสดุที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียน อาจทำขึ้นจากวัสดุท้องถิ่นหรือวัสดุเหลือใช้ บางทีวัสดุเหลือใช้ทำขึ้นเองนี้ นอกจากใช้เป็นสื่อสอนได้แล้วยังนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
อุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง 
อุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง หมายถึง
 เครื่องมือที่ใช้เป็นสื่อในการฟังของเด็กเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้แก่ เปียโน ออร์แกน กลอง ฉิ่ง ฉาบ ระฆัง เหล็กสามเหลี่ยม ระนาด กรับพวง กลองรำมะนา แคน ขลุ่ย ซอ ไวโอลีน ฯลฯ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงดูเด็กยังสามารถจัดทำอุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียงขึ้นเอง เพื่อใช้เป็นสื่อการสอน เพลง ดนตรี และจังหวะ เช่น กรับมือ ลูกซัด กรุ๋งกริ๋ง ฆ้องกระแตก ตะเกียบ เป็นต้น
อุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย
อุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย หมายถึง เครื่องมือที่ใช้เป็นสื่อให้เห็นได้เป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือสามารถเห็นภาพและได้ยินเสียงพร้อมกันด้วย เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉาย
 VDO เครื่องฉายภาพยนตร์ การเลือกใช้สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย สามารถนำมาใช้ประกอบการสอน นิทาน การเล่าเรื่อง หรือการนำเสนอภาพที่อยู่ในสถานที่ห่างไกลที่เด็กไม่มีโอกาสไปดูเองได้ เช่น ภาพปิระมิด ภาพวัดพระแก้ว ภาพภูเขาไฟ เป็นต้น การนำเสนอภาพที่สามารถย่อหรือขยายเวลาได้ เช่น ภาพการเจริญเติบโตของพืช ก็สามารถถ่ายทอดให้เห็นพัฒนาการได้ในระยะเวลาอันสั้น หรือแม้แต่การขยายหรือย่อภาพ เช่น การย่อภาพ เช่นการย่อภาพดวงจันทร์ การขยายภาพเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กโดยใช้กล้องขยาย เป็นต้น 

การเก็บรักษาและการซ่อมแซม
1.
 อุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย ควรมีห้องหรือตู้จัดเก็บอย่างปลอดภัย 
2.
 ผู้ใช้ควรรู้จักวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องฉายอย่างถูกต้อง 
3.
 ตรวจตราอุปกรณ์ทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่ดีและรักษาความสะอาด
4.
 ถ้าอุปกรณ์ชำรุด ควรส่งบริษัทหรือร้านที่ผลิตเพื่อซ่อมแซม อุปกรณ์ประเภททั่วไป 
อุปกรณ์ประเภททั่วไป 
หมายถึง อุปกรณ์ที่ไม่ใช่เครื่องเสียงและเครื่องฉาย แต่เป็นอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนวิชาต่าง ๆ ได้ เช่น
 1. เครื่องเล่นสนาม ได้แก่ ชิงช้า ม้าหมุน ม้าโยก เรือโล้ บาร์ ไม้กระดก
2. สิ่งของจำลอง ได้แก่ หุ่นสัตว์ ผัก ผลไม้ ที่ทำด้วยปูนหรือยาง เป็นต้น
3. อุปกรณ์ในชั้น ได้แก่ กระดาษ กระถาง อ่างเลี้ยงปลาก กระบะทราย
4. เครื่องเล่นในร่ม ได้แก่ รถลาก ลูกคิด หีบสมบัติ การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภททั่วไป สามรถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของผู้เรียน แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ และเมื่อได้ใช้สื่ออุปกรณ์ทั่วไปแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสรุปหรือให้เด็กช่วยคิดถึงประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรม หรืออุปกรณ์ประเภททั่วไปด้วย และนอกจากนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กต้องเข้าใจวิธีการเก็บรักษาและซ่อมบำรุงเบื้องต้นด้วย การเก็บรักษาและซ่อมแซม
1. เครื่องเล่นสนาม ต้องตรวจดูทุกวัน ถ้าชำรุดต้องรีบซ่อมแซมทันที
2. สิ่งของจำลอง ควรจัดวางไว้บนชั้น หยิบใช้ได้ง่าย ดูแลให้สะอาดไม่ให้มีฝุ่นละออง บางอย่างที่ชำรุด เช่น ตุก๊กตา หุ่น ควรรีบซ่อมแซม
3. อุปกรณ์ในชั้น เก็บวางไว้เป็นที่และดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ
4. เครื่องเล่นในร่ม ควรจัดวางไว้บนชั้น จัดแบ่งเป็นพวก หยิบเล่นได้ อย่าให้มีฝุ่นละออง
การเลือกสื่อการประเภทวิธีการ การเลือกสื่อการประเภทวิธีการ สามารถจำแนกได้เป็น 1. การสาธิต 2. กิจกรรม 3. การใช้ท่าทางประกอบ 4. การเล่นบทบาทสมมติ การสาธิต การสาธิต หมายถึง การแสดงกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการกระทำ เพื่อให้เป็นตัวอย่างสร้างความเข้าใจให้แก่เด็ก การเลือกใช้การสาธิตมาเป็นสื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะเด็กที่เข้ามาเรียนในระยะแรก ๆ ต้องใช้เวลาไม่น้อยในการที่จะทำความคุ้นเคยกับผู้เลี้ยงดูเด็กและเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสาธิตการทำกิจกรมต่าง ๆ ให้นักเรียนทำตาม เช่น การร้องเพลงศิลปะ ดนตรี หรือการเล่น เป็นต้น ตัวอย่าง กิจกรรมการแปรงฟัน ผู้เลี้ยงดูเด็กสอนกิจกรรมการแปรงฟัน ให้เด็กแปรงฟันที่ถูกวิธี โดยได้เลือกการสอนประเภทวิธีการ การสาธิต สิ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องจัดกา เด็กเตรียมแปรงสีฟัน ยาสีฟัน น้ำ และขันน้ำ วิธีการสาธิต - ผู้เลี้ยงดูเด็กและเด็กจัดเตรียมอุปรณ์ให้พร้อมผู้เลี้ยงดูเด็กสาธิตวิธีการแปรงฟัน แปรงขึ้นแปรงลงด้วย แปรงสีฟันเปล่า (ยังไม่ใส่ยาสีฟัน) แล้วให้เด็กฝึกทุกคน - ผู้เลี้ยงดูเด็กอธิบายประโยชน์ของการแปรงฟันที่ถูกวิธีและโทษของการแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธี - ผู้เลี้ยงดูเด็กสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี - เด็กฝึกปฏิบัติทุกคน
กิจกรรม กิจกรรม หมายถึง การกระทำที่เด็กแสดงออกมา ซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กอาจสังเกตและวัดได้ การเลือกใช้กิจกรรมเป็นสื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยสามารถนำมาใช้ได้ทุกวิชา ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ ดนตรี พลศึกษา ธรรมชาติศึกษา ภาษาไทย หรือแม้แต่วิชาคณิตศาสตร์ก็ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาเป็นสื่อได้ทั้งนั้น เพราะเด็กปฐมวัยชอบการเคลื่อนไหวและชอบทำสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ จึงเหมาะสมที่นำกิจกรรมมาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ตัวอย่าง กิจกรรมการปั้น การปั้นเป็นการนำดินเหนียว ดินน้ำมัน มาปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ตามความต้องการของเด็กอย่างอิสระ วัสดุและเครื่องมือประกอบการปั้น 1. ดินเหนียว ดินน้ำมัน กระดาษ แป้งโดว์ 2. เครื่องมือประกอบการปั้น เช่น ไม้นวดแป้ง พิมพ์รูปต่าง  3. ผ้าเช็ดมือ 4. แผ่นรองปั้น กิจกรรม 1.ใช้ดินเหนียว ดินน้ำมัน กระดาษ แป้วโดว์ ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ บนแผ่นรองปั้น 2. ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจให้แนวทางขั้นต้นก่อนที่จะให้เด็กเป็นอย่างอิสระ 3.อาจให้เครื่องมือประกอบการปั้นและวัสดุต่าง ๆ ตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ เมล็ดพืช เปลือกหอย 4. ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ และเก็บเข้าที่เทื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม การใช้ท่าทางประกอบ การใช้ท่าทางประกอบหมายถึง หารแสดงท่าทางประกอบอารมณ์และความรู้สึกนึกคิด การใช้ท่าทางประกอบเป็นสื่อประเภทวิธีการที่เด็กปฐมวัยชอบมาก โดยผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถนำมาใช้ประกอบการเล่านิทานและการละเล่นได้ ตัวอย่าง กิจกรรมละครใช้ ผู้เลี้ยงดูเด็กแสดงท่าประกอบการเล่านิทาน โดยในบางตอนอาจแสดงท่าทางประกอบ แล้วให้เด็กทายว่าท่าทางประกอบตัวละครตัวนี้คืออะไร เช่น เป็ด นก สุนัข เป็นต้น (อาจใช้กิจกรรมให้เด็กจับฉลากว่าได้แสดงเป็นสัคว์ชนิดใดแล้วแสดงให้เพื่อทายก็ได้) การเล่นบทบาทสมมติ การเล่นบทบาทสมมติ เป็นการเลียนแบบชีวิตจริงตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของเด็ก โดยให้เด็กเล่นสมมติเป็นตัวละครต่าง ๆ ตามเนื้อเรื่องในนิทานหรือเรื่องราวต่าง ๆ จุดประสงค์ 1. ส่งเสริมการใช้ภาษาในการฟัง การถ่ายทอดเรื่องราว 2. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 3. ส่งเสริมการอยู่ร่วมกับเด็กอื่น 4. ส่งเสริมมารยาทในการเป็นผู้ฟังและผู้ชมที่ดี กิจกรรม 1. ผู้เลี้ยงดูเด็กเล่านิทานเรื่องราวต่าง ๆ ให้เด็กฟัง 2. ผู้เลี้ยงดูเด็กและเด็กร่วมกันกำหนดตัวละครเพื่อแสดงบทบาทสมมติ 3. ให้เด็กแสดงบทบาทสมมติตามนิทานหรือเรื่องราวต่าง ๆ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กช่วยเหลือเมื่อจำเป็นขณะเล่น ข้อเสนอแนะ 1. ให้โอกาสเด็กในการเลือกเรื่องและตัวละคร 2. จัดหาเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์ประกอบการเล่นบทบาทสมมติ ข้อควรระวังในการใช้สื่อการเรียนการสอน การใช้สื่อในระดับก่อนประถมศึกษา ควรระวังในเรื่องต่อไปนี้ 1. วัสดุที่ใช้ ? ต้องไม่มีพิษ ? ไม่หักและแตกง่าย ? มีพื้นผิวเรียบ ไม่เป็นเสี้ยน 2. ขนาด ? มีขนาดใหญ่เกินไป หรือมีขนาดไม่เหมาะกับเด็ก ยากต่อการหยิบยก เพราะอาจจะตกลงมาเสียหาย แตกเป็นอันตรายต่อเด็ก ใช้ไม่สะดวก เช่น กรรไกรขนาดใหญ่ โต๊ะ เก้าอี้ ที่ใหญ่และสูงเกินไป ? มีขนาดเล็กเกินไป เด็กอาจจะนำไปอมหรือกลืน ทำให้ติดคอหรือไหลลงท้องได้ เช่น ลูกปัดเล็ก ลูกแก้วเล็ก ฯลฯ 3. รูปทรง ? รูปทรงแหลม ? รูปทรงเหลี่ยม เป็นต้น 4. น้ำหนัก ? น้ำหนักมาก เด็ดยกหรือหยิบไม่ไหว อาจจะตกลงมาเป็นอันตรายต่อตัวเด็ก 5. สื่อที่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก เช่น สารเคมี วัตถุไวไฟ ฯลฯ 6. สื่อที่เป็นอันตรายต่อสายตา เช่น สีสะท้อนแสง ฯลฯ


การเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อ ดำเนินการดังนี้
1. เก็บสื่อให้เป็นระเบียบและเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะประเภทของสื่อ
2.  ฝึกให้เด็กหยิบสื่อออกมาใช้ได้เองและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
3.  ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพหรือสีที่เป็นสัญลักษณ์แทนหมวดหมู่ประเภทของสื่อ เพื่อเด็กจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
4.  ตรวจสอบสื่อหลังจากที่ใช้แล้วทุกครั้งว่ามีสภาพสมบูรณ์ จำนวนครบถ้วนหรือไม่
5.  ซ่อมแซมสื่อชำรุดและทำเติมส่วนที่ขาดหายไปให้ครบชุด การพัฒนาสื่อ การพัฒนาสื่อเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษานั้น ก่อนอื่นควรได้สำรวจข้อมูลสภาพปัญหาต่าง ๆ ของสื่อทุกประเภทที่ใช้อยู่ว่ามีอะไรบ้างที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการ

แนวทางการพัฒนาสื่อ ควรมีลักษณะเฉพาะดังนี้
1. ปรับปรุงสื่อให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ใช้ได้สะดวก ไม่ซับซ้อนเกินไป เหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. รักษาความสะอาดของสื่อถ้าเป็นวัสดุที่ล้างน้ำได้เมื่อใช้แล้วควรได้ล้างเช็ด หรืปัดฝุ่นให้สะอาดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่ วางเป็นระเบียบ หยิบใช้ง่าย
3.  ถ้าเป็นสื่อที่ผู้เลี้ยงดูเด็กผลิตขึ้นมาใช้เองและผ่านการทดลองใช้มาแล้ว ควรเขียนคู่มือประกอบการใช้สื่อนั้น โดยบอกชื่อสื่อ ประโยชน์และวิธีใช้ รวมทั้งจำนวนชิ้นส่วนของสื่อในชุดนั้น และเก็บคู่มือไว้ในซองหรือถุงพร้อมสื่อที่ผลิต
4.  พัฒนาสื่อที่สร้างสรรค์ ใช้ได้อเนกประสงค์ คือเป็นได้ทั้งสื่อเสริมพัฒนาการ และเป็นของเล่นสนุกสนานเพลิดเพลิน

 การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน
    การประเมินสื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากอีกขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนการประเมินสื่อการเรียนการสอนมักจะควบคู่ไปกับวิธีการประเมินไปด้วย การประเมินสื่อเป็นการพิจารณาประสิทธิภาพและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดีนั้นควรจะมีการประเมินสื่อนั้นเมื่อมีการใช้สื่อเป็นครั้งแรกเพื่อการปรับปรุงการใช้สื่อในครั้งต่อไป การประเมินสื่ออาจทำได้โดย
      1.
 การประเมินโดยผู้สอน ผู้สอนควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอน เคยได้รับการฝึกอบรมจนมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อและมีประสบการณ์ในการใช้สื่อการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี 
       2. การประเมินโดยผู้ชำนาญ ซึ่ง ผู้ชำนาญในที่นี้ หมายถึง ผู้ชำนาญด้านสื่อการเรียนการสอนและจะต้องมีประสบการณ์ด้านการประเมินด้วย ดังนั้น ผู้ชำนาญอาจเป็นผู้สอน เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนในสาขาวิชาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งอาจารย์ด้านการวัดผลและการประเมินผลที่มีความรู้ความสามารถด้านสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น 3. การประเมินโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อประเมินสื่อการสอนเป็นกลุ่มบุคคลที่หน่วยงานแต่งตั้งขึ้นมาประเมินสื่อ ซึ่งลักษณะของกรรมการชุดนี้จะประเมินคุณลักษณะ ประสิทธิภาพการใช้และคุณลักษณะด้านอื่นๆของสื่อการเรียนการสอนด้วย
4. การประเมินโดยผู้เรียนซึ่งผู้เรียนจะเป็นผู้รับรู้และเรียนรู้จากสื่อได้ตรงที่สุด ดังนั้น การให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินสื่อจึงช่วยให้ได้ข้อคิดในการปรับปรุงสื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนซึ่งการประเมินโดยผู้เรียนควรจัดทำขึ้นทันทีเมื่อใช้สื่อแล้วและให้ประเมินเฉพาะตัวสื่อโดยไม่ให้นำวิธีสอนของผู้สอนเข้ามาประเมินด้วย อย่างไรก็ตาม การประเมินสื่อโดยผู้เรียนอาจมีปัญหาอยู่บ้างเพราะผู้เรียนอาจยังมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ ผู้สอนควรชี้แจงเกณฑ์หรือหัวข้อการประเมินให้ผู้เรียนเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนที่จะให้ประเมิน 
 5. การประเมินประสิทธิภาพของสื่อที่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจทำได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการประเมินประสิทธิภาพของสื่อนั้นสื่อที่จะต้องได้รับการประเมินประสิทธิภาพส่วนใหญ่จะเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นตามหลักการของการสอนแบบโปรแกรม เช่น บทเรียนโปรแกรมชุดการสอนโมดุลและโสตทัศนนูปกรณ์โปรแกรม เป็นต้น การประเมินสื่อโดยวิธีนี้จะคำนึงถึงจุดมุ่งหมายของสื่อการเรียนการสอนและการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนภายหลังจากที่เรียนจากสื่อนั้นแล้ว 

      นอกจากนี้อาจทำได้ด้วยการสังเกตพฤติกรรมการเรียน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน การอภิปรายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ประเมินจะต้องมีแบบประเมินเพื่อช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ผลการประเมินต่อไป ซึ่งวิธีต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางในการประเมินสื่อทั้งสิ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการประเมินสื่อสามารถทำได้หลายวิธีและมีจุดมุ่งหมายที่ต่างๆกัน ดังนั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินสื่อจึงทำได้หลายลักษณะ คือ 
      1.
 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะเป็นเครื่องมือวัดความรู้ของผู้เรียนภายหลังการเรียนจากสื่อแล้ว 
       2.
 แบบทดสอบความถนัดเพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนภายหลังที่เรียนจากสื่อ 
       3.
 แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจซึ่งเครื่องมือนี้จะประกอบด้วยข้อความหรือคำถามต่างๆเกี่ยวกับสื่อหรืออาจจะมีช่องว่างให้เติมข้อความด้วยก็ได้ เครื่องมือลักษณะนี้ใช้ประเมินได้กับทุกกลุ่มเรียน 
       4.
 แบบมาตราส่วนประมาณค่า สามารถใช้ประกอบในแบบสอบถามได้ซึ่งการใช้เครื่องมือ แบบมาตราส่วนประมาณค่านี้สามารถนำไปใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินด้านเหตุการณ์ ความคิดเห็นและเจตคติของผู้เรียนได้ ซึ่งผู้ออกแบบแบบประเมินลักษณะนี้ต้องให้นิยามของศัพท์เฉพาะหรือข้อความด้านเทคนิคที่ใช้ในการประเมินให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ได้อาจผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ 
        5.แบบจัดอันดับเป็นการพิจารณาคุณค่าของสิ่งในการสอนจุดมุ่งหมายหนึ่งว่า สื่อใดจะเหมาะสมที่สุดแล้วเรียงอันดับความสำคัญของสื่อ
        6.
 การบันทึกแบบไดอารี่เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการประเมินอาจจะบันทึกเกี่ยวกับการใช้สื่อนั้นๆ ทุกครั้งที่มีการใช้ เพื่อทราบผลการใช้สื่อในการเรียนการสอน 
        7.
 การสังเกตเป็นการเฝ้าดูผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการใช้ 
        8.
 การสัมภาษณ์เป็นการซักถามและพูดคุยกับทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อนั้น เพื่อนำข้อมูลมาประกอบพิจารณาในการประเมินสื่อ ลักษณะของเครื่องมือการประเมินสื่อการเรียนการสอน นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีเครื่องมืออีกหลายลักษณะที่สามารถนำมาประยุกต์ในการออกแบบเครื่องมือการประเมินสื่อได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและวิธีการประเมิน 

      อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประเมินมีหลายวิธี นอกจากนั้นการประเมินยังมีความมุ่งหมายเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบเท่านั้น ดังนั้นเครื่องมือและเทคนิคการรวบรวมข้อมูลจึงมักใช้หลาย ๆ รูปแบบและจัดให้มีการประเมินอย่างต่อเนื่อง      
 การประเมินสื่อการเรียนการสอนเป็นการพิจารณาประสิทธิภาพและคุณภาพของสื่อ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้มีประสิทธิผลเพียงใด สื่อจะสามารถปรับปรุงการสอนได้ดีแค่ไหน คุ้มค่าในแง่ผลการเรียนรู้หรือไม่ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้สื่อนั้นเป็นครั้งแรกซึ่งควรจะมีการประเมินสื่อเพื่อปรับปรุงการใช้ในครั้งต่อไป การประเมินอาจทำโดยใช้การประเมินแบบวิธีง่ายๆไปจนถึงแบบวิธีที่ซับซ้อนทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการประเมินด้วย 
ทุกวันนี้สื่อการเรียนการสอนมีบทบาทสูงในสังคมการศึกษา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา ประเทศยิ่งเจริญเทคโนโลยียิ่งก้าวหน้า สื่อการศึกษายิ่งมีมากชนิดและรูปแบบ ประสิทธิภาพของสื่อการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยให้การสื่อสารการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ รวดเร็ว และสามารถสนองความต้องการที่หลากหลายของบุคคลในสังคม สื่อที่มีประสิทธิภาพสูงย่อมจะยังผลสูง การวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยชี้ศักยภาพ และประสิทธิภาพของสื่อว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์กำหนดได้แค่ไหนระดับใด กระบวนการนี้เองนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขสื่อให้มีศักยภาพในระดับมาตรฐาน
ทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลักทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนคืออะไร

          การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การนำผลจากการวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interretation)
 และตัดสินคุณค่า (Value Judgement) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่ดีเพียงใด มีลักษณะถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ประการใด
          จะเห็นว่า การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน กระทำได้โดยการพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อนั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อจึงมีความสำคัญ การวัดผลจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการเหตุผลและเป็นระบบเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง สามารถบอกศักยภาพของสื่อได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของการประเมินผลสื่ออย่างเที่ยงตรงต่อไป
          การวัดผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนการสอน
          เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ ผู้กระทำการวัดและประเมินผลอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่นิยมกันมากได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Checklist)
 เป็นต้น
การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน

          ในที่นี้ จะกล่าวถึงการวัดและการประเมินผลสื่อการเรียนการสอนที่มีขั้นตอนการตรวจสอบที่พิถีพิถันเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ในเบื้องแรก การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
 และการตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดการตรวจสอบทั้งสองส่วนตามลำดับต่อไปนี้
        
  ขั้น ๑ การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis)
          การตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ปรากฏในสื่อ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ถ้าส่วนที่ปรากฏภายในมีลักษณะชัดเจน ง่าย และสะดวกแก่การรับรู้ สื่อนั้นเป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงในการสื่อสาร การตรวจสอบที่สำคัญในขั้นนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ลักษณะสื่อและเนื้อหาสาระในสื่อ
       
   ๑. ลักษณะสื่อ
ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อให้มีลักษณะต่างๆ คือ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความงาม ดังนั้นในการตรวจสอบลักษณะสื่อ ผู้ตรวจสอบจะมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก

๑.๑ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ
                 สื่อแต่ละประเภทมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ สื่อการเรียนการสอนบางประเภทจะทำหน้าที่เพียงให้สาระข้อมูล บางประเภทจะให้ทั้งสาระและกำหนดให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยในสื่อบางประเภท เช่น สื่อสำหรับการศึกษารายบุคคล สื่อที่เสนอเนื้อหาสาระข้อมูลอาจจะเสนอได้หลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะให้ความเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมมากน้อยแตกต่างกัน ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือของจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลใช้ประสาทสัมผัสได้มากช่องรับสัมผัสกว่าสื่ออื่น ที่มีความเป็นรูปแบบรองลงมา ได้แก่ ของตัวอย่าง ของจำลอง เป็นต้น สื่อบางชนิด ให้สาระเป็นรายละเอียดมาก บางชนิดให้น้อย บางชนิดให้แต่หัวข้อ เช่น แผ่นโปร่งใส สื่อบางประเภทสื่อสารด้วยการดู บางประเภทสื่อสารทางเสียง หรือบางประเภทสื่อสารด้วยการสัมผัส ดมกลิ่น หรือลิ้มรส เช่น การสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งมีหลายชนิด ตั้งแต่สื่อประเภทกราฟิกอย่างง่ายไปจนถึงภาพเหมือนจริง สื่อประเภทกราฟิกนั้น ต้องเสนอความคิดหลักเพียงความคิดเดียว ภาพก็มีหลายชนิด ภาพ ๒ มิติ หรือภาพ ๓ มิติ ภาพอาจจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวเร็ว บางชนิดเป็นลายเส้น รายละเอียดน้อย เช่น ภาพการ์ตูน ซึ่งต่างจากภาพเหมือนจริงที่ให้รายละเอียดมาก เป็นต้น รูปแบบของการเสนอภาพนั้น อาจจะเสนอภาพหลายภาพพร้อมกัน (Simultaneous Images หรือ Multi-Images) หรืออาจจะเสนอภาพที่ละภาพต่อเนื่องกัน (Sequential Images) เหล่านี้เป็นต้น ลักษณะที่แตกต่างกันนี้ย่อมให้คุณค่าแตกต่างกัน
                จะเห็นว่า ในปัจจุบันสื่อแต่ละประเภทมีความหลากหลายในรูปแบบ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิธีการสอน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่และทฤษฎีการเรียนการสอนที่นำมาเน้นใหม่ เช่น การประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ในการเรียนการสอน ทำให้สื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทมีมากรูปแบบอันนำมาซึ่งประโยชน์ต่อการสื่อสาร เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งแต่เดิมได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพฤติกรรมในการสร้างบทเรียน (Behavioral Psychology) CAI นั้นมีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แต่ในปัจจุบันการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ทำให้เกิด CAI ในลักษณะของเกมส์ (Games) สถานการณ์จำลอง (Simulation) และโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ (Artificial Intelligence) แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้สื่อการเรียนการสอนจะมีรูปแบบที่หลากหลาย สื่อที่ผลิตก็จะต้องคงลักษณะเฉพาะตามประเภทสื่อไว้ได้
๑.๒ มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards)                                                                                           การออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยการนำส่วนประกอบต่างๆ ตามประเภทของสื่อและองค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยงข้องมาพิจารณา เพื่อประโยชน์ของการสื่อสาระตามความคาดหมาย องค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในที่นี้ได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย หลักการสอน กระบวนการสื่อสารและลักษณะเฉพาะเรื่อง เป็นต้น การออกแบบสื่อที่ดีจะต้องช่วยทำให้การสื่อสาระชัดเจนและเป็นที่เข้าใจง่ายสำหรับกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ ต้องไม่เป็นการออกแบบที่ทำให้การสื่อสารคลุมเครือ และสับสนจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความเข้าใจ ดังนั้นในการตรวจสอบสื่อในขั้นนี้ สิ่งที่ผู้ตรวจสอบสื่อจะต้องพิจารณา คือ การชี้หรือแสดงสาระสำคัญตามที่ต้องการได้อย่างน่าสนใจ กระชับและได้ใจความครบถ้วน มีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม เช่น จำนวนเวลาเรียน จำนวนบุคคลผู้ใช้สื่อ วิธีการใช้สื่อ เป็นต้น มีความน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา เร้าใจ และน่าเชื่อถือ อนึ่ง หากสื่อนั้นมีกิจกรรมหรือตัวอย่างประกอบ กิจกรรมจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระ ทั้งกิจกรรมและตัวอย่างต้องสามารถจุและตรึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ตลอดเวลา และนำไปสู่การขยายหรือเสริมสาระที่ต้องการเรียนรู้ให้กระจ่างชัด แต่ถ้าสื่อนั้นเป็นวัสดุกราฟิก ก็จะต้องเป็นการออกแบบที่ลงตัว มีความสมดุลย์ในตัว
                นอกจากนี้ในบางครั้งอาจใช้การออกแบบแก้ข้อจำกัดหรือข้อเสียเปรียบของลักษณะเฉพาะบางประการของสื่อ แต่การกระทำเช่นนี้ จำเป็นต้องมีผลงานวิจัยรองรับ ตัวอย่างเช่นโปรแกรมการสอนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer-based instructional programs)
 ซึ่งเป็นบทเรียนสำเร็จรูปรายบุคคล ตามปกติบทเรียนลักษณะนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนนานเท่าไรก็ได้ แต่นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย Belland, Taylor, Canelos, Dwyer และ Baker (๑๙๘๕) ตั้งประเด็นสงสัยว่า การให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้เวลาเรียนนานเท่าใดก็ได้นั้น อาจจะเป็นผลทำให้ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ความตั้งใจเรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ คณะวิจัยจึงได้ทำการวิจัยโดยกำหนดเวลาเรียนในโปรแกรมกรสอนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการกำหนดเวลาเรียนนี้กระทำได้ เพราะอยู่ในสมรรถวิสัยตามศักยภาพคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมที่กำหนดเวลาเรียน ผนวกกับให้เวลาสำหรับกระบวนการคิด ช่วยให้ผลการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วย ตัวอย่างงานวิจัยที่ยกมาข้างบนนี้ ชี้ให้เห็นว่า กรออกแบบโดยการกำหนดเวลาเรียนในบทเรียน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถกำหนดเวลาเรียนในบทเรียนได้ ช่วยแก้จุดอ่อนหรือข้อจำกัดของลักษณะเฉพาะบทเรียนสำเร็จรูปรายบุคคลได้เป็นอย่างดี งานวิจัยในลักษณะนี้จะช่วยนักออกแบบสื่อให้มีความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการออกแบบ
๑.๓ มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical standard)
เทคนิควิธีการเสนอสื่อ เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญประการหนึ่งที่ควรเน้นในที่นี้คือ เทคนิควิธีที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอน ต้องเป็นเทคนิควิธีการทางการศึกษากล่าวคือ เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้การเสนอสาระเป็นไปอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือหรือไม่ซ่อนเร้นสาระเพื่อให้มีการเดา
ในด้านการนำเสนอต้องน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและ
ความเหมือน ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย มีความกระชับและสามารถสรุปกินความได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่วัตถุประสงค์
กำหนด อีกทั้งเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง
                ส่วนในด้านการใช้สื่อ ควรเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ความคล่องตัวในการใช้ ใช้ง่าย และมีความปลอดภัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น